วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

EdgeRank







เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่า ทำไมเวลาเราโพสต์สิ่งใดๆ ลงไปบนเฟสบุคในหน้าเพจส่วนตัวของเรา บางทีแทบจะไม่มีปฏิกริยาใดๆ จากเพื่อนๆ ของเราเลย เป็นไปได้ไหมว่า เพื่อนๆ ไม่เห็นโพสต์ของเรา ทั้งที่บางทีโพสต์เสร็จแล้วออกมาไปทานข้าว ปรากฎว่ามีเพื่อนคนนั้นเข้ามาไลค์ เพื่อนคนนี้เข้ามาเม้นต์ จนเป็นอันให้ไม่ต้องทานข้าวกันเลย
เชื่อว่าทุกคนที่ได้เปิดใช้งานเฟสบุคมานานหลายๆ ปี คงต้องสงสัยในลักษณะนี้กันแน่ เนื่องจากว่าประมาณก่อนปี 2555 เฟสบุคจะใช้วิธีเรียงลำดับการโพสต์ตามเวลา กล่าวคือโพสต์ล่าสุดจะอยู่บนเสมอทั้งในหน้าส่วนตัวของเราและหน้า newsfeed (หน้าหลัก) แต่หลังจากปี 2555 เป็นต้นมา หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ บางทีโพสต์เมื่อสามปีสี่ปีที่แล้วกลับเด้งมาอยู่บนหน้า newsfeed เอาดื้อๆ แต่โพสต์ล่าสุดหายจ๋อมไปอยู่ไหนก็ไม่รู้ แล้วเฟสบุคใช้หลักการอะไรในการจัดเรียงโพสต์ในหน้า newsfeed ของเราในปัจจุบันี้ล่ะ
ชักเริ่มสงสัยตามที่กล่าวมากันแล้วใช่ไหมครับ?
วันนี้ก็เลยเอาเรื่องสำคัญเรื่องนี้มาอธิบายให้พอเข้าใจกัน ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับโพสต์ของเรา
ในปัจจุบันตอนนี้เฟสบุคจะใช้อัลกอรึทึม (Algorithm) หรือเรียกแบบชาวบ้านก็คือกระบวนการในการประมวลผลในการตัดสินใจเลือกว่าจะดึงโพสต์ไหนมาอยู่บนหรืออยู่ล่างเรียงลำดับอย่างไรในหน้า newsfeed ของเรานั่นเอง ซึ่งอัลกอรึทึมดังกล่าวมีชื่อว่า EdgeRank (อันนี้ขออนุญาติทับศัพท์ เพราะไม่มีคำภาษาไทยสั้นๆ มาเทียบเคียงได้)
แล้ว EdgeRank มันประมวลผลเลือกเรียงลำดับโพสต์อย่างไรล่ะ
ในกลไกการทำงานของ EdgeRank จะเอาค่าคะแนนมาจาก 3 สิ่่ง (จากในรูป) มาประมวลหาผลลัพธ์ว่า โพสต์แต่ละโพสต์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีคะแนนสูง-ต่ำ อย่างไร แล้วเรียงลำดับโพสต์ในหน้า newsfeed ตามค่าผลลัพธ์นั้น
คะแนน 3 ส่วนที่ว่า มีดังนี้ครับ
1. (u) The Affinity Score: ค่าคะแนนความใกล้ชิด
เป็นค่าที่เฟสบุคประเมินจากความสัมพันธ์ของเจ้าของโพสต์กับเจ้าของหน้า newsfeed ที่เปิดใช้งานเฟสบุคในขณะนั้นว่า เคยมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกันแค่ไหน เช่น เคยไลค์ เคยเมนต์ เคยแชร์ โพสต์ของกันและกันมากน้อยและถี่แค่ไหน คือมันวัดความซี้ย่ำปึ๊กกันเลย ซี้กันมากก็จะได้ค่าคะแนนจากส่วนนี้มาก อย่างนี้เป็นต้น วิธีประมินคะแนนส่วนนี้ของเฟสบุค ก็แค่ไปไล่ดูข้อมูลสถิติย้อนหลังกลับไป เท่านั้นเอง
ทีนี้เมื่อทราบดังนี้แล้ว ต่อไปคิดว่า พอเห็นโพสต์ใดๆ ของเพื่อนซี้ของเราขึ้นปั๊บ ทีนี้ต้องทราบแล้วนะครับว่า ต้องทำอย่างไรกับมัน อิ อิ อิ
2. (w) The Weight Score: ค่าคะแนนน้ำหนักของโพสต์
ค่าคะแนนส่วนที่สองมาจากค่าน้ำหนักของโพสต์นั้นๆ โดยเฟสบุคจะพิจารณาให้คะแนนตามหลักเกกณฑ์ เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ครับ
- Photo / Video – รูปภาพหรือวีดีโอ
- Link – ลิงก์ไปเว็บไซต์อื่นๆ
- Plain Text – ข้อความเฉยๆ
เห็นดังนี้แล้ว ก็พอธิบายได้ว่า ถ้าใส่แต่ข้อความเฉยๆ ไว้ในโพสต์ ขอบอกไว้เลยว่า มันจะขึ้นเฉพาะในหน้า newsfeed ของเพื่อนซี้ของเราเท่านั้นแหละ โอกาสจะไปขึ้นหน้าเพื่อนที่ไม่ใช่เพื่อนซี้(คนที่รู้จัก) มีโอกาสขึ้นน้อยมาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อรู้หลักเกณฑ์นี้แล้ว ต่อไปนี้กูจะโพสต์แต่รูปภาพอย่างเดียว ข้อความไม่ต้องใส่ เพื่อจะได้ค่าคะแนนจากส่วนนี้มากๆ ช้าก่อนครับ หากท่านคิดแบบนั้น ขอบอกเลยว่า ท่านคิดผิดครับ
ที่ผิดก็เพราะว่า รูปภาพหรือวิดีโอมีค่าน้ำหนักมากที่สุดก็จริง แต่ถ้าท่านใส่แต่รูปแล้วเป็นรูปที่มีความหมายคลุมเครือ เพื่อนที่เห็นก็คงไม่กล้ากดไลค์หรือคอมเมนต์ให้ ไม่เกินหนึ่งชั่วโมงขอรับรองว่าโพสต์นั้นจะหายไปจากสาระบบหน้า newsfeed แน่นอน ดังนั้นรูปภาพในโพสต์ทุกโพสต์ควรจะมีข้อความสั้นๆ ไม่ต้องยาวมาก มากำกับเพื่อบ่งบอกจุดมุ่งหมายในภาพของเราด้วยเสมอ
เพราะฉะนั้นทุกครั้งก่อนจะโพสต์อะไรลงไป ให้เอา 3 อย่างนี้้ มาพิจารณาประกอบในโพสต์ของเราด้วยทุกครั้งไป
3. (d) Time Decay: ค่าความสดใหม่
ค่าคะแนนส่วนสุดท้าย เฟสบุคใช้หลักเกณฑ์เก่าก่อนปี 2555 คือค่าความล่าสุดนั่นเอง หากโพสต์ใดเป็นโพสต์ล่าสุดก็จะได้คะแนนในส่วนนี้มาก ว๊าวกันซื่อๆ ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนในค่าคะแนนส่วนนี้ครับ
ทั้งหมดนี้คือกลไกของเฟสบุคที่เรียกว่า EdgeRank แล้วทำไมเฟสบุคต้องเอาอัลกอรึทึม EdgeRank มาใช้งานให้ยุ่งยากด้วยล่ะ อิ อิ อิ อันนี้ผมค่อยไปตอบในโพสต์ต่อไปก็แล้วครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น