วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ใบเสร็จรับเงิน สำคัญไฉน?


ใบเสร็จ

ใบเสร็จรับเงิน เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าได้ชำระเงินค่าสินค้า บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันจึงมีความสำคัญในกรณีที่คุณพบว่า สินค้าหรืออาหารที่คุณซื้อมาเกิดปัญหาขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อ "เรียกร้องความชอบธรรม" ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสินค้าใหม่หรือขอคืนเงิน หรือรวมถึงจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หากสินค้าหรืออาหารนั้นทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายขึ้นในภายหลัง

ใบเสร็จ ได้รับมาแล้วต้องเก็บให้ดี โดยเฉพาะใบเสร็จจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ชำระด้วยบัตรเครดิต: ในสลิปบัตรเครดิต จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเลขที่และวันหมดอายุของบัตรปรากฏอยู่ 

ซึ่งหากใบเสร็จเหล่านี้ไปตกอยู่ใน>>>มือมิจฉาชีพ


https://goo.gl/sx7g7X


วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Thailand 4.0 คืออะไร?





  • Thailand 1.0 ก็คือยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ
  • Thailand 2.0 ซึ่งก็คือยุคอุตสาหกรรมเบา ในยุคนี้เรามีเครื่องมือเข้ามาช่วย เราผลิตเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องดื่ม เครื่องเขียน เครื่องประดับเป็นต้น ประเทศเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น
  • Thailand 3.0 (ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน ) เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก เราผลิตและขายส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมน เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเน้นการส่งออก
  • แล้ว Thailand 4.0 ล่ะ มันเป็นอย่างไร? ไปหาคำตอบกันได้เลย...


วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ระบบขายของออนไลน์ - ใครสามารถใช้งานระบบนี้ได้บ้าง?

คำถามนี้ตอบได้ไม่ยาก

ใครก็ตามที่ต้องการบอกลาบิลมือ สามารถใช้งานระบบนี้ได้หมดครับ

ลองอ่านบทความนี้ดูครับ

ถึงเวลา บอกลาบิลมือ

ระบบขายของออนไลน์ - ก่อนใช้ระบบขายของออนไลน์ต้องเตรียมความพร้อมบ้าง?


สิ่งที่จำเป็นต้องมี
  1. อินเตอร์เน็ต
  2. PC, Notebook หรือ Smart Phone(รวมทั้ง Tablet)
  3. Printer
  4. ข้อมูล(เกี่ยวกับร้าน, สินค้าที่จะขาย, อื่นๆ)

ถึงเวลา บอกลาบิลมือ

บิลมือ คืออะไร?

คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่เป็นคำพูดใดๆ แต่ขอตอบด้วยรูปแทนแล้วกัน







ทั้งหมดในรูปคือบิลมือ ที่เรียกบิลมือก็เพราะ ต้องใช้คนเขียนด้วยมือ (ส่วนใหญ่ที่เจอ เขียนแล้วลูกค้าอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง จริงไหม?)

แต่ถ้าเราใช้เทคโนโลยีเพียงเล็กน้อย เราจะไปบิลแบบนี้


สวยงาม ลูกค้าอ่านรู้เรื่อง-เข้าใจ

ถึงเวลาบอกลา บิลมือหรือยังครับ?

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ระบบขายของออนไลน์ คืออะไร?

คงต้องขอจำกัดความกันก่อน เพราะบางคนอาจจะเข้าใจไปในทำนองว่า มันเป็นการขายสินค้าแบบออนไลน์อย่างเช่น LAZADA หรืออะไรก็ได้ที่มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีอยู่เยอะแยะไปเสียหมด จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น

ระบบขายของออนไลน์ในที่นี้  หมายถึง "ระบบให้บริการ เพื่อจัดการขายสินค้า โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ อันได้แก่ PC, Notebook หรือสมาร์ทโฟท เชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตไปยังระบบให้บริการดังกล่าว แบบออนไลน์"

อ่านแล้วอาจจะเข้าใจยากสักนิด ขออธิบายด้วยรูปดีกว่า


จากรูปคงดูออกไม่ยาก บรรดาลูกศรหัวไปกลับสีฟ้าๆ ทั้งหลาย คือการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต ไปยังคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ของระบบให้บริการฯ ซึ่งอยู่ภายในรูปก้อนเมฆ การประมวลผลข้อมูลทุกอย่างจะทำงานแบบ Online และ Real Time อยู่ตรงกลางซึ่งก็คือ ตัวระบบให้บริการนั่นเอง

ได้เห็นรูป กับคำอธิบายเพียงเล็กน้อย ก็น่าจะเก็ตแล้วนะครับ

สำหรับร้านค้าต่างๆ ที่จะใช้งานระบบ เพียงแค่มี อุปกรณ์ใดๆ สักอย่าง เช่น PC, Notebook หรือ Smart Phone(รวมทั้ง Tablet ด้วย) เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด แล้วป้อน URL บนเว็บบราวส์เซอร์ไปที่ http://www.myshopman.com แค่นี้ก็ใช้งานได้แล้ว

แล้วทีนี้ ไอ้ระบบให้บริการฯ ที่ว่า มันช่วยทำอะไรได้บ้างล่ะ โดยเฉพาะที่บอกว่า "เป็นระบบให้บริการ พื่อจัดการขายสินค้า" มันช่วยจัดการอะไรได้บ้าง?

มีหลักๆ 4 อย่าง คือ
1. เปิดบิลเพื่อขายของ และปิดบิลเมื่อลูกค้าชำระเงินครบถ้วน
2. สร้างเอกสารจำพวก บิล ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี โดยที่ไม่ต้องเขียนด้วยมือแบบเก่าๆ อีกต่อไป หากคุณมี Printer ก็สามารถพิมพ์ให้ลูกค้าได้ทันที แต่ถ้าไม่มี คุณอาาจะส่งเอกสารเหล่านั้นไปให้ลูกค้าทางอีเมล์ หรือทาง LINE ก็ได้
3. รองรับการทำบัญชี อันได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีเครดิต บัญชีสินค้า และบัญชีบริหารจัดการร้าน
4. รองรับการ Export ข้อมูลของร้านค้าไปเป็น Excel เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น

แค่ 4 อย่างนี้ สำหรับร้านค้าทั่วไป ก็น่าจะเพียงพอ

เรื่องที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

เรามาเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ(สมาร์ทโฟน) ให้เป็น POS กันดีไหม?

โทรศัพท์มือถือ ประเภทสมาร์ทโฟน มีคุณสมบัติหลายประการที่จะช่วยขายของและทำบัญชีให้เรา



ประการแรก คือความเป็น Mobile ซึ่งหมายถึง ทุกที่ ทุกเวลา คุณสมบัติข้อนี้ทำให้เราพาไปใช้งานตรงไหนหรือเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลา

ประการที่สอง การเชื่อมต่อกับผู้คน ทำให้เรารู้สึกไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป

ประการที่สาม ในสมาร์ทโฟนจะมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือแอพลิเคชั่น หรือที่คนส่วนใหญ่เรียก แอพ

ประการที่สี่ สมาร์ทโฟนเมื่อรวมเอาพวก แท็บเล็ต เข้ามาด้วยแล้ว จะทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้นไปอีก

แล้ว POS มันคืออะไร?

POS (Point Of Sale) ก็คือจุดขาย หรือ จุดเช็คเอาท์(CheckOut) แต่ถ้าเอาตามคำนิยามกันจริงๆ ก็คือ จุด หรือ ตำแหน่ง ที่เกิดธุรกรรมการแลกปลี่ยนทางสินค้าหรือบริการ ว่าโดยความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจคือ จุดชำระเงิน แต่แท้จริงแล้ว ความหมาย รวมไปถึงจุดที่ให้การบริการด้วย

รูปร่างหน้าตาของ POS (ในยุค 4G) ก็เป็นดังในรูป หรือถ้าอยากเห็นของจริงที่ใกล้ๆ ก็ต้องในเซเว่น เวลาเราไปจ่ายเงินค่าสินค้า พนักงานเซเว่นก็จะพิมพ์ใบเสร็จรับเงินส่งมาให้เราทุกครั้ง



หากจะว่าไป สมาร์ทโฟน ตกเป็นรอง POS ก็ตรงที่ไม่สามารถพิมพ์เอกสารใดๆ ได้ แต่ข้อจำกัดข้อนี้จะหมดไปในทันที เพียงแค่เราหาซื้อ Printer ที่พิมพ์ใบเสร็จได้ และเป็น Printer ที่สามารถเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งมีขายเยอะแยะ จากนั้นก็เชื่อมต่อ สมาร์ทโฟนกับ Printer ด้วยบัญชี Google แค่นี้ก็สามารถพิมพ์อะไรต่อมิอะไรจาก สมาร์ทโฟนได้แล้ว

ดังนั้นการเปลี่ยนสมาร์โฟนให้เป็น POS ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย และยิ่งหากได้เปิดบัญชีใช้งานระบบขายของออนไลน์ไว้แล้วด้วย งานขายของของคุณก็ยิ่งสนุก ที่สำคัญคือประหยัดเงินกว่าการซื้อ POS มาใช้ได้หลายพันครับ

ขายของออนไลน์คืออะไร?

ระบบขายของออนไลน์ - วิธีจัดการสินค้าของร้านเพื่อขาย ต้องทำอย่างไร?

ก่อนอื่นให้เรานึกถึงการจัดวางสินค้า ในซุปปอร์มาร์เก็ต หรือง่ายๆ ก็ในเซเว่น เราจะเห็นว่า สินค้าจะมีมากมายหลากหลายชนิด จัดวางแยกไปตามชั้นวางสินค้า แต่ถ้าเราพิจารณาให้ลึกกว่านั้น เราจะเห็นว่า เขาจัดวางสินค้าไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ก็จะจัดไว้หมวดหนึ่ง กาแฟ โอวัลติน ครีม น้ำตาล นมข้นหวาน ก็จะจัดไว้อีกหมวดหนึ่ง เป็นต้น ที่เขาทำแบบนั้นก็เพราะว่า มันง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า และพนักงานในร้าน






คราวนี้ก็มาถึงคิวการจัดวางสินค้าของเรากันบ้าง การจัดสินค้าเพื่อขายในระบบขายของออนไลน์ก็จะจัดแบ่งสินค้า ออกไปเป็นหมวดๆ เช่นกัน เรียกว่า ประเภทสินค้า ที่ต้องจัดแยกกันก็เพื่อความความสะดวกในการนำรายการสินค้ามาลงในบิล ตอนที่เราจะขายของนั่นเอง

สมมติว่าร้านเราเป็นร้านประเภทวัสดุก่อสร้างก็แล้ว เราควรจะเอาปูนซีเมนต์มาไว้กลุ่มเดียวกับสีทาบ้านไหม? ซึ่งมันคงไม่ใช่ เพราะปูนซีเมนต์ก็มีหลายจำพวกสีทาบ้านก็มีหลายจำพวกดังนั้นเราควรแยกออกจากันให้เห็นได้ชัด ของอะไรที่เป็นจำพวกเดียวกัน เราก็ควรเอามาไว้ด้วยกัน อะไรที่ไม่ใช่พวกเดียวกับมันเราก็แยกไปใส่ในอีกประเภทหนึ่งหรือสร้างเป็นประเภทใหม่ขึ้นมาอีกประเภทก็ยังได้

สินค้า ประเภทปูนซีเมนต์ มีอะไรบ้าง?
ก็ได้แก่ ปูนตราเสือ ซึ่งก็มีสีเขียว สีฟ้า ปูนตราช้างแดง ซึ่งแต่ตัวจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ราคาขายต่อกระสอบก็ไม่เหมือนกัน รายละเอียดอื่นๆ ของสินค้าก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งมีช่องให้ระบุในรายละเอียดสินค้า

ดังนั้นในร้านขายวัสดุก่อสร้างก็ควรมีประเภทสินค้าดังนี้

  • ปูนซีเมนต์
  • อิฐ
  • หิน
  • ทราย
  • สี
  • ไฟฟ้า
  • ประปา
  • เหล็ก

หรืออื่นๆ เป็นต้น

การจัดประเภทสินค้าในระบบขายของออนไลน์ก็จะมีการตั้งชื่อประเภทสินค้า ซึ่งควรเพิ่มประเภทสินค้าให้ครบ ผ่านทางเมนู รายการสินค้า และเลือก เพิ่มประเภทสินค้า

เมื่อเพิ่มประเภทสินค้าครบแล้ว ก็ถึงคราวนำสินค้าทั้งหมดของร้านไปใส่ลงในประภทสินค้าที่เราเพิ่งจะเพิ่มเสร็จลงไป การเพิ่มรายการสินค้าทำได้โดยการเลือกประเภทสินค้า แล้วเลือก เพิ่มสินค้า จากเมนู ระบบก็จะเปิดฟอร์มให้กรอกรายละเอียดสินค้าแต่ละรายการดังนี้

  • ชื่อสินค้า เช่น ปูนซีเมนต์ตราเสือ
  • หน่วยขาย เช่น กระสอบ
  • รายละเอียด เช่น กระสอบเขียว น้ำหนัก 50 ก.ก. 
  • ราคาขายต่อหน่วย เช่น 135


เมื่อป้อนข้อมูลครบถ้วนก็คลิกปุ่ม บันทึก สินค้ารายการนั้นก็จะถูกบันทึกลงในสินค้าประเภทที่เราเลือกไว้ หากมีรายการสินค้าอื่นๆ ที่จะใส่ในประเภทนี้อีก ก็ป้อนข้อมูล 4 อย่างนั้น แล้วก็บันทึก ไปเรื่อยๆ จนครบทุกรายการสินค้า และครบทุกประเภทสินค้า

เมื่อเราได้จัดระเบียบสินค้าทั้งหมดของร้านเสร็จแล้ว คราวนี้ก็รอเปิดบิลขายได้เลย

หน้าหลัก

ระบบขายของออนไลน์ - หน้าหลัก

หน้าหลัก

หากคุณกำลังมองหา ระบบอะไรสักอย่าง ที่จะมาช่วยงานการขายของหรือสินค้าของคุณ ซึ่งคุณกำลังมีปัญหาต่างๆ มากมายเกี่ยวกับร้านค้าของคุณ

เราอยากจะบอกว่า คุณมาถูกที่แล้ว

เพราะ ระบบขายของออนไลน์ ที่ www.myshopman.com หาใช่เป็นเพียงระบบช่วยขายของอย่างเดียว แต่ยังมีอย่างอื่นมารองรับเพื่อจัดการ ร้านค้าของคุุุณ อย่างเป็นระบบ และใช้งานง่าย

ที่กล้าพูดเช่นนั้นก็เพราะว่า ผู้พัฒนาระบบนี้ขึ้น ก็เป็นคนหนึ่งที่เปิดกิจการขายของ และประสบปัญหามากมาย เคยได้ไปลองใช้โปรแกรมจัดการร้านค้าทั้งที่ฟรีและไม่ฟรี แต่ก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ตรงจุด จึงตัดสินใจลงมือพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานเอง

แรกๆ ก็ขาดๆ เกินๆ แต่ก็พัฒนาปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนกระทั้งในเวลานี้ กล้าพูดเต็มปากว่า สมบูรณ์ที่สุดแล้ว (แต่ก็ยังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยีอย่างอื่นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา) จนได้นำมาแบ่งปันให้คนที่กำลังมีปัญหาแบบเดียวกันได้ใช้งานด้วย และตั้งใจว่าจะคิดค่าบริการไม่ให้แพง เหมือนอย่างโปรแกรมที่เคยนำมาใช้งาน


ทีนี้มาเข้าเรื่อง กันเลยดีกว่า

ระบบขายของออนไลน์ จะช่วยแก้ปัญหาอะไรให้คุณได้บ้าง?

เรามาดูกัน ...

อย่างแรกคือ ควบคุมการขายขายหน้าร้าน ของพนักงานที่เป็นลูกจ้างของเรา ตัดปัญหาลูกจ้างตุกติกกับเราได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเขาต้องขายของและออกบิลรวมทั้งใบเสร็จให้ลูกค้า เขาจึงหมดสิทธิ์ตุกติกกับเรา นอกจากนั้นลูกจ้างที่ขายของหน้าร้านของเรา พวกเขาจะได้รับความสะดวกสบาย จากการขายของและออกบิลรวมทั้งใบเสร็จ เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือ(สมาร์ทโฟน) อย่างเดียว จนเป็นความประทับใจของลูกค้าที่มาอุดหนุนร้านเรา ในขณะที่เจ้าของกิจการมีหน้าที่เพียงแค่นั่งมอนิเตอร์รายได้จากการขายของเท่านั้นเอง

อย่างที่สอง คือระบบบัญชี กิจการทุกิจการย่อมต้องมีบัญชีต่างๆ ไว้ควบคุมกิจการให้ไปตามแนวทางที่ต้องการ กิจการจะอยู่ได้หรือไม่ได้ก็อยู่ที่บัญชี ที่ระบบขายของออนไลน์ เรามีระบบบัญชีไว้รองรับกิจการทั้งหมด 3 ประเภทบัญชี คือ บัญชีได้รายรับ(จากการขายหน้าร้าน) บัญชีสต็อกสินค้า และบัญชีบริหารจัดการร้านค้า

อย่างต่อมาก็คือ จนถึง ณ นาทีนี้เรากล้าพูดได้เต็มปากกว่า ระบบขายของออนไลน์ ที่ www.myshopman.com คือผู้ให้บริการรายแรกของประเทศไทย ที่สามารถให้ผู้ใช้งานระบบสามารถสแกนบาร์โค้ดแบบออนไลน์ได้ ทำให้กิจการต่างๆ ที่กำลังมีปัญหาเรื่องการขายหน้าร้านสามารถจบสิ้นลงได้ เพราะเมื่อกิจการสามารถสแกนบาร์โค้ดสินค้าได้ ก็ไม่ต้องกลัว 7-11 อีกต่อไป

อย่างต่อมา เรื่องปัญหารการใช้งานระบบ หากผู้ใช้งานมีปัญหาใดๆ จากการใช้งาน ผู้ใช้ไม่กังวลใดๆ เพราะระบบนี้ ให้บริการแบบออนไลน์ ไม่เหมือนโปรแกรมจัดการร้านค้าที่มีให้ดาวน์โหลดฟรีบ้างไม่ฟรีบ้าง แต่เป็นระบบออฟไลน์ทั้งสิ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานได้

ยังมีอื่นๆ อีกมากมายที่อยากให้อ่าน ก่อนตัดสินใจ ลองคลิกลิงค์ด้านล่างเข้าไปอ่านดูนะครับ

ระบบขายของออนไลน์ คืออะไร?


ใครสามารถใช้งานระบบนี้ได้บ้าง?


ก่อนใช้ระบบขายของออนไลน์ต้องเตรียมความพร้อมบ้าง?


วิธีจัดการสินค้าของร้านเพื่อขาย ต้องทำอย่างไร?

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การซื้อ และ การขาย ที่สมบูรณ์ คืออะไร?

กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของทุกชีวิตในแต่ล่ะวัน ก็คือ ซื้อ และ ขาย



ที่บอกว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญก็เพราะว่า ในทุกนาทีของแต่ล่ะชีวิตล้วนต้องการการปัจจัยสี่เพื่อใช้ในการดำรงอยู่ของชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญ ปัจจัยบางอย่างเราสามารถผลิตเองได้ก็ไม่ต้องไปหาซื้อ แต่ปัจจัยบางอย่างเราไม่สามารถผลิตเองได้ เมื่อผลิตเองไม่ได้ก็ต้องไปซื้อหามา ไม่มีชีวิตใดที่สามารถผลิตปัจจัยสี่ได้ทั้งสี่ปัจจัย ปัจจัยที่เราผลิตเองได้เราก็ใช้เองและเมื่อเหลือจากที่ใช้เองเราก็เอาไปขาย ยกตัวอย่างเช่น คนเลี้ยงไก่ ไม่ต้องซื้อไก่ของผู้อื่นมารับประทานเพราะสามารถผลิตได้เอง แต่คนเลี้ยงไก่ก็ยังต้องการปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ยา เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ซึ่งต้องไปซื้อมาจากผู้อื่น แต่เมื่อคนเลี้ยงไก่ผลิตได้มากเกินความต้องการของตัวเอง คนเลี้ยงไก่ก็นำไปไก่ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็เอาเงินไปซื้อปัจัยอื่นๆ ต่อไป เป็นแบบนี้ทุกชีวิต จึงสรุปได้ว่า การ ซื้อและการขายคือกิจกรรมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยทุกชีวิต เราจึงได้มีชีวิตมาได้จนถึงทุกวันนี้ หากยังไม่เชื่อ ลองอย่างนี้กันดีไหม หยุดทำกิจกรรมการซื้อและการขายทุกอย่างทุกชนิดในชีวิตสัก 1 สัปดาห์ ซึ่งไม่มน่าจะมีชีวิตไหนทนได้ จริงไหม?

เมื่อมันเป็นกิจกรรมที่สำคัญของชีวิต เราก็ต้องทำกิจกรรมนี้โดยความระมัดระวัง รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด เพราะความผิดพลาดจะนำมาสู่ความวุ่นวายต่อมา

การซื้อการขาย มีตัวละครที่สาำคัญอยู่สองตัว ตัวหนึ่งคือ เงิน เงินในที่นี้หมายถึง เงินตรา ใช้เพื่อชำระหนี้ตามกฎหมาย เงินคือตัวกลางที่อยู่ระหว่างการซื้อกับการขาย ส่วนตัวละครตัวที่สองคือ ความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย การซื้อขายที่สมบูรณ์จะต้องมีตัวละครทั้งสองนี้ปรากฎอยู่ หากมีไม่ครบก็ไม่นับว่าเป็นการซื้อการขาย เพราะหากไม่มีเงินมันก็เป็นได้แค่การแลกเปลี่ยนความพึงพอใจไม่ใช่การซื้อขาย หรือมีเงินแต่ไม่มีความพึงพอใจมันก็เป็นได้แค่ การทำบุญหรือการให้ทานเท่านั้นเอง การซื้อการขายที่สมบูรณ์จึงต้องมีตัวละครทั้งสองตัวนี้ประกอบกันอยู่เสมอ



การระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการซื้อการขาย ก็คือการทำให้ตัวละครสองตัวนี้มีความสมดุลทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ขาย

เงิน ที่ออกไปจากฝ่ายผู้ซื้อ ผู้ซื้อต้องมีความรู้สึกว่า ยินดีที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ออกไป และยินดีที่จะรับสินค้ามาจากฝ่ายผู้ขาย ผู้ขายก็ยินดีที่จะรับเงินจำนนวนนี้ พร้อมๆ กับยินดีที่จะยกสินค้าให้ฝ่ายผู้ซื้อ

ความพึงพอใจ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เกิดความไม่ยินดีขึ้นมา ก็จะเหมือนกับว่ามีการเอารัดเอาเปรียบกัน หรือคดโกงกัน ปัญหาอย่างอื่นก็จะตามมา ซึ่งตรงนี้ต้องระมัดระวังให้ดี เนื่องจากมันเป็นการซื้อการขายที่ไม่สมบูรณ์



ทุกคนต่างก็อยากได้การซื้อการขายที่สมบูรณ์ เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาตามมา จึงต้องใส่ใจให้ความระมัดระวังตรงนี้ให้มากๆ

สรุปสั้นๆ ง่ายๆ การซื้อและการขายที่สมบูรณ์ ก็คือการทำให้ เงิน และความพึงพอใจ เกิดขึ้นอย่างสมดุลทั้งสองฝ่าย

หากท่านใดมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ขอความกรุณาช่วยบอกกล่าวด้วย

วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

เฟสบุคเป็นของฟรี จริงหรือไม่?



เฟสบุค บอกเราว่า "ใช้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ" ตอนที่เราสมัครใช้งาน มันจริงหรือไม่?
วันนี้ผมจะมาไขปริศนาเรื่องนี้ ให้ท่านที่ได้ติดตามอ่านงานเขียนของผมกัน
ใช่ครับ ตอนที่เราไปลงทะเบียน(Register) เพื่อขอใช้งาน เฟสบุคก็บอกเราว่า ใช้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงแต่ว่า เราต้องกรอกข้อมูลที่สำคัญบางอย่างในขั้นตอนที่หนึ่งให้เฟสบุคทราบ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เพศ วัน-เดือน-ปี เกิด เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล์(E-Mail) ในขั้นตอนกรอกข้อมูลขั้นตอนที่หนึ่งนี้ เฟสบุคบังคับว่าต้องกรอก ถ้าไม่กรอกก็ไม่ให้ใช้ อิ อิ อิ
เมื่อเสร็จขั้นตอนที่หนึ่ง ก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สอง เฟสบุค พยายามโน้มน้าว(ไม่บังคับ)ให้เรากรอกข้อมูลอื่นๆ ตามมาอีก เช่น ที่อยู่ ระดับการศึกษา ทำงานที่ใด มีความสนใจเรื่องใด เป็นต้น ในขั้นตอนนี้หากเรายังไม่พร้อมจะกรอก ก็สามารถข้ามไปได้(ค่อยมากรอกย้อนหลัง) แต่ถ้ากรอกไปแล้ว(ก็ยังสามารถกลับมาแก้ไขใหม่ได้ในภายหลังเช่นกัน) เฟสบุคก็จะเอาข้อมูลเหล่านี้ของเรามาประมวลผลเพื่อจะหาเพื่อนให้เราหรือดึงโฆษณาต่าง ๆ ขึ้นมาให้ตรงกับสิ่งที่เราสนใจให้มากที่สุด ถามว่าทำไม ใจเย็นๆ ครับ เดียวผมจะค่อยๆ อธิบาย
แต่อยากบอกตรงนี้นิดหนึ่งว่า ยังมีขั้นตอนต่อมาซึ่งเป็นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งก็คือขั้นตอนหาเพื่อน การใช้ชีวิตในเฟสบุคหากว่าไม่มีเพื่อนมันไม่สนุกหรอกครับ มันต้องมีเพื่อน มันต้องคบหาสมาคมกับผู้อื่นถึงจะมีรสชาติ ดังนั้นเราก็เริ่มทยอยค้นหาเพื่อนที่เรารู้จัก แล้วก็ส่งคำขอเป็นเพื่อนกับเขา แล้วก็รอให้เขาตอบรับกลับมา หรือในหลายๆ ครั้ง เฟสบุคจะช่วยหาเพื่อนมาให้เรา โดยการบอกว่า “บุคคลที่คุณอาจรู้จัก” เมื่อใช้งานเฟสบุคไปสักพัก เฟสบุคก็จะเอาเราไปขึ้นเป็นบุคคลที่คุณอาจรู้จักในหน้า newsfeed ของเพื่อนที่ยังหาตัวกันไม่เจอด้วยก็ได้ จะไม่ขออธิบายอะไรให้มากในขั้นตอนนี้ เพียงแต่อยากจะชี้ให้เห็นอะไรเล็กๆ สักนิดหนึ่งว่า เฟสบุคมีความแม่นยำประมาณ 50% - 90% ในการหาบุคคลที่คุณอาจรู้จักมาแสดงให้เราดู ที่เฟสบุคทำอย่างนั้นได้ก็เพราะข้อมูลที่กรอกลงไปในขั้นตอนที่หนึ่งและสองนั่นเองครับ
(ในการสมัครใช้งานจริง ขั้นตอนที่สองกับขั้นตอนที่สามสลับกัน แต่ที่ผมเขียนเรียงลำดับแบบนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลต่างๆ ของเราที่ให้ไปกับเฟสบุคนั้นมันสำคัญอย่างไรและเฟสบุคเอาไปใช้งานที่ไหนเมื่อไหรบ้าง แค่นั้นเองครับ)
ทีนี้ก็มาไขปริศนาเรื่องโฆษณากันต่อ หากสังเกตุดีๆ โฆษณาที่ว่าจะมีลักษณะเป็นเพจกับเป็นโพสต์ ถ้าโฆษณาเป็นเพจ เฟสบุคจะใช้ข้อความกำกับว่า “เพจแนะนำ” ถ้าเป็นโพสต์ เฟสบุคจะบอกว่า “ได้รับการสนับสนุน” หรือ “สปอนเซอร์” แล้วโฆษณาจะมีเกิดขึ้นทุกครั้งที่เราเปิดเข้ามาใช้งานเฟสบุคไม่ซ้ำหน้ากัน คนที่อยู่กรุงเทพกับคนที่อยู่ภูเก็ตหรือเชียงใหม่ ในเวลาใดเวลาหนึ่งจะได้เห็นโฆษณาไม่เหมือนกัน ผู้หญิงกับผู้ชายในเวลาใดเวลาหนึ่งอาจจะได้เห็นโฆษณาไม่เหมือกันก็ได้ แล้วแต่ว่าเฟสบุคจะจัดหามาให้ในหน้า newsfeed (หน้าหลัก) ของเราอย่างไร เราแค่รอชมอย่างเดียว
ถ้าดันเผอิญว่า โฆษณาดังกล่าวมันมาโดนตาโดนใจเราเข้า อย่างน้อยๆ เราต้องคลิกอ่านรายละเอียดหรือไม่ก็กดไลค์ให้โฆษณาเพจหรือโพสต์เหล่านั้นเป็นอย่างน้อย จริงไหมครับ แต่ถ้าไม่ถูกตาถูกใจเราก็ข้ามๆ โฆษณาเหล่านั้นไป เพื่อไปยังโพสต์ของเพื่อนๆ ของเราที่เขาโพสต์ๆ หรือแชร์ๆ กันอยู่
แต่ถ้าลองตั้งใจสังเกตุดีๆ เฟสบุคก็จะมีความแม่นยำค่อนข้างสูงเช่นกัน ที่จะดึงโฆษณาใดๆ ให้มาขึ้นในหน้า newsfeed ของเรา ที่เราเห็นปุ๊บก็ถูกใจปั๊บทันที ซึ่งก็มีบ่อยครั้งเหมือนกัน เคยสังเกตุแบบนั้นหรือเปล่าครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเฟสบุคก็ใช้หลักการเดียวกับการเอา บุคคลที่คุณอาจรู้จัก มาแสดงให้เราดู ในขั้นตอนค้นหาเพื่อนตามที่ได้อธิบายไปแล้วเมื่อตะกี้
ในบางครั้งหากโฆษณาใดๆ เอาสินค้าที่ตรงใจเราที่สุดมาขาย และเรามีเงินพอ เราก็สั่งซื้อสินค้านั้นทันที เคยเป็นแบบนี้ใช่ไหมครับ คือสั่งซื้อสินค้าแบบออนไลน์ เชื่อว่าหลายๆ คงจะเคยกันมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย จะเห็นว่ามันเกิดการซื้อขายกันโดยตรงระว่างผู้ขายและผู้ซื้อ แม้ว่าจะเป็นโลกออนไลน์ที่ไปจากเฟสบุคก็ตาม แต่ในทางเศรษฐกิจถือว่าเกิดการหมุนเวียนของเงินตราแล้ว และด้วยเหตุผลนี้แหละ ที่ผู้ขายต่างก็พึงพอใจกับผลลัพธ์ที่ได้จาการให้เฟสบุคช่วยโฆษณาสินค้าให้
เห็นไหมครับว่า มันเกิดการปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงระหว่างผู้ซื้อ(เรา)และผู้ขายสินค้าและรวมไปถึงบริการทั้งหลายทั้งปวงในเฟสบุคแห่งนี้ด้วย
ถ้าแรงจูงใจมันดี ลงทุนเท่าไหร่ก็ยอม จริงไหมครับ
นี่คือสิ่งที่บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายยึดถือในเรื่องการแสวงหากำไร บรรดาผู้ขายสินค้าทางเฟสบุคก็เหมือนกัน จ่ายค่าโฆษณาเท่าไรก็ยอมหากผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่า ก็เลยเกิดการไปแย่งขอทำโฆษณากับเฟสบุคกันมากมาย เฟสบุคก็จะใช้วิธีประมูลช่วงเวลาโฆษณากัน คือให้ผู้ขายสินค้ากำหนดงบประมาณมาว่าวันนี้คุณจะจ่ายค่าโฆษณาให้กับเฟสบุคกี่บาท ขายสินค้าให้กับใครคนจำพวกไหนบ้าง ขายให้กับคนในพื้นใดบนแผนที่โลก(ซึ่งจะขึ้นมาให้เราเลือก) เมื่อเฟซบุคเปิดดูผลการประมูล(แต่เฟสบุคจะเก็บมันไว้เป็นความลับ)ก็จะจัดสรรเวลาสำหรับดึงโฆษณาของพ่อค้าที่ให้ราคาประมูลสูงๆ ขึ้นหน้า newsfeed ของกลุ่มคนที่อยู่ในข่ายที่ผู้ขายกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนประมูล(ซึ่งก็คือกลุ่มเป้าหมาย)บ่อยๆ และถี่ๆ ส่วนคนที่ประมูลรองๆ ลงมา ก็จะขึ้นเบาๆ บางๆ ในช่วงของวัน วันนั้น
ทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า ถ้าแค่เราใช้งาน ก็ฟรีจริงๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่อย่าลืมว่า เราต้องเอาข้อมูลของเราที่ให้ไว้กับเฟสบุคไปแลก(ของฟรี)มา เพื่อจะให้เฟสบุคยัดเยียดโฆษณาสินค้านานาชนิดให้เราดู แบบฟรีทีวี แต่ถ้าบังเอิญไปเจอสินค้าที่ถูกใจในโฆษณาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราในฐานะผู้ใช้งาน(User) แบบฟรีๆ ก็ควรช่วยส่งเสริมบรรดาผู้มีอุปการะคุณของเฟสบุค(พวกที่มาฝากทำโฆษณากับเฟสบุค)เขาสักหน่อย เช่น กดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์โพสต์ออกไปให้เพื่อนเราคนอื่นๆ ได้เห็นได้ดูบ้าง เพราะหากเราไม่ช่วย ก็จะไม่มีใครมาโฆษณาขายสินค้ากับเฟสบุค สุดท้ายเฟสบุคก็อยู่ไม่ได้ เมื่อเฟสบุคอยู่ไม่ได้เราก็อดใช้ชีวิตออนไลน์ในโลกไซเบอร์แห่งนี้ไปโดยปริยาย
น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ฉันใด เฟสบุคก็พึ่งเรา เราก็พึ่งเฟสบุค ฉันนั้น มันเป็นการอิงผลประโยชน์ร่วมกันนั่นเองครับ

คำถามที่เจอบ่อย (FAQs)



คำถามที่เจอบ่อย (FAQs)
ทำไมเราต้องมีเพจธุรกิจบนเฟสบุค?
ตอบว่า หลักการทำธุรกิจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนเสรีอย่างในปัจจุบัน มันหนีไม่พ้นการแข่งขัน นักธุรกิจมืออาขีพทั้งหลายเข้าใจเรื่องนี้ดี
...
พูดเรื่องการแข่งขัน เขาแข่งขันอะไรกัน ก็หนีไม่พ้นแข่งขันหาลูกค้า เพราะลูกค้าคือพระเจ้าสำหรับธุรกิจทั้งหลายทั้งปวง
แล้วเราจะไปแข่งขันหาลูกค้าจากที่ไหน ก็ต้องเข้าใจให้ได้ว่า ทุกวันนี้มีแต่คนใช้สมาทโฟนในกิจกรรมต่างๆ ของชีวิตแทบทุกแห่งหน และในกิจกรรมเหล่านั้นก็หนีไม่พ้นแอปพลิเคชั่นตัวหนึ่งที่ชื่อว่า เฟสบุค
ทีนี้คงจะไม่ต้องสาธยายให้มากความแล้วนะครับว่า ถึงเวลาที่เราเจ้าของธุรกิจจะมีเพจธุรกิจของเราบนเฟสบุคแล้วหรือยัง ลองสำรวจไปที่ร้านขายโทรศัพท์มือถือดูนะครับว่า โทรศัพท์มือถือไม่ว่าเศรษฐกิจจะซบเซาอย่างไร แต่โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนก็ยังขายดีเป็นเทน้ำเทท่าอยู่เสมอ เพราะคนทุกวันนี้ ใช้ชีวิตบนเฟสบุคหรือโลกไซเบอร์กันทั้งหมดแล้ว แล้วเราจะไม่ตามเขาเข้าไปทำธุรกิจในโลกไซเบอร์กับเขาบ้างล่ะ
มีธุรกิจจำนวนมากมาย ที่เข้าไปทำธุรกิจในโลกไซเบอร์แล้วประสบความสำเร็จ และเราเองก็ทำได้เช่นกันครับ

คำถามที่เจอบ่อย (FAQs)



คำถามที่เจอบ่อย (FAQs)
ในเมื่อเรามีแฟนเพจอยู่แล้วเป็นพันๆ คน แล้วทำไมเราจะต้องไปจ่ายค่าโฆษณาโพสต์ให้เปลืองเงินอีกทำไม?
ตอบว่า โพสต์ทุกโพสต์ในเพจของเรา จะมีแฟนเพจเข้าถึงได้ตามสภาวะปกติ(แบบออร์แกนนิค)สูงสุดแค่ 16% เท่านั้น แฟนเพจอีก 84% หรือมากกว่านั้น จะไม่สามารถรับข่าวสารจากเพจของเราได้เลย ที่เป็นแบบนั้นเพราะเฟสบุคใช้กลไกที่เรียกว่า EdgeRank (ลองหาเรื่อง EdgeRank อ่านได้จากบทความหรือโพสต์ก่อนหน้านี้นะครับ)
...
มีทางแก้ปัญหาเรื่องนี้สองทาง คือ หนึ่ง แจ้งให้แฟนเพจทั้งหมดกลับมาที่เพจของเรา แล้วมาสร้างความคุ้นเคยกับเพจเพิ่มเติมเช่น กดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์โพสต์ ให้มากๆ ขึ้น ซึ่งในปฏิบัติมันทำยากเต็มที ทางแก้ที่สองคือ โฆษณาโพตส์ เพราะเมื่อโฆษณาโพสต์แล้ว แฟนเพจทุกคนจะได้รับข่่าวสารจากเราในทันที (เผลอๆ อาจได้แฟนเพจรายใหม่เพิ่มมาด้วย)
นี่คือสิ่งที่เจ้าของเพจทั้งหลายไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน เพจที่เปิดมาซึ่งมีมากมาย เลยกลายเป็นเพจที่ไม่แอ็คทีฟในที่สุด
หากเราจะทำธุรกิจจริงๆ เงินค่าโฆษณาไม่มากมายอะไร มันคุ้มค่าเกินจะเอามาคิดเปรียบเทียบกับผลกำไรที่จะเกิดขึ้น จริงไหมครับ

เขาทำโฆษณาบนเฟสบุคกันอย่างไร?




เขาทำโฆษณาบนเฟสบุคกันอย่างไร?
โพสนี้เป็นการกลับมาตามที่ได้ตกลงกันไว้ในโพสต์ก่อนว่า จะมาอธิบายวิธีการทำโฆษณาบนเฟสบุคว่า เขาทำกันอย่างไร ต้องใช้อะไรบ้าง
การโฆษณาขายสินค้ากับเฟสบุคมีอยู่ด้วยกันสองแบบใหญ่ๆ คือ โฆษณาเพจ กับ โฆษณาโพสต์
โฆษณาเพจ จะเป็นการแนะนำเพจให้ผู้ใช้เฟสบุคคนอื่นๆ เข้ากดไลค์เพจ เพื่อสมัครเป็นแฟนเพจ เมื่อเพจนั้นมีการโพสต์ข้อมูลใดๆ ลงในเพจ ข้อมูลของโพสต์ชุดนั้นก็จะไปปรากฎบน newsfeed ของแฟนเพจด้วย(หากค่าความใกล้ชิดระหว่างเพจนั้นกับผู้ใช้คนนั้นมีค่าสูงพอก็จะไปปรากฎโดยอัตโนมัติ) นี่คือจุดประสงค์ของการโฆษณาเพจ ซึ่งเพจทุกเพจต้องหาวิธีทำให้มีจำนวนแฟนเพจสูงๆ เข้าไว้ ยิ่งมากเท่าไหรยิ่งดี เพจที่มีคุณภาพมักจะมียอดแฟนเพจสูงๆ เสมอ เพราะเป็นตัวเลขที่ใช้การันตีให้แฟนเพจรายใหม่ๆ เกิดความมั่นใจว่า เพจนี้มีคุณภาพจริงๆ สมควรที่เราจะสมัครเป็นแฟนเพจของเขาหรือไม่
โฆษณาโพสต์ ในกรณีที่เจ้าของเพจเห็นว่าโพสต์ใดมีความสำคัญที่จะต้องแจ้งให้แฟนเพจทราบครบหมดทุกราย แต่จะรอให้เฟสบุคช่วยดึงโพสต์ไปใส่ใน newsfeed ของแฟนเพจทั้งหมดคงไม่ไหว เพราะเฟสบุคจะดึงให้ได้อย่างมากแค่ 16% เท่านั้น (เรื่อง 16% ต้องกลับไปทำความเข้าใจจากโพสต์ก่อนนะครับ) หากเป็นอย่างนี้เราสามารถที่จะทำโฆษณาเป็นรายโพสต์อีกก็ได้ เพื่อรับประกันว่าแฟนเพจได้รับรู้ข่าวสารจากโพสต์ครบหมดทุกคน การโฆษณาโพสต์ เฟสบุคจะบ่งชี้ด้วยข้อความว่า "ได้รับการสนับสนุน" กำกับโพสต์นั้นๆ เอาไว้ โดยปกติเจ้าของเพจที่จะขายสินค้าจะมาทำโฆษณาโพสต์ในช่วงที่จะมาการ ลด แลก แจก แถม เพื่อดึงลูกค้าเก่าๆ ให้กลับมาซื้อสินค้าใหม่อย่างนี้เป็นต้น
การโฆษณาทั้งสองแบบบนเฟสบุคไม่ได้ยุ่งยากอะไร โดยเฟซบุคได้จัดเตรียมเครื่องมือไว้ให้เราครบถ้วนทั้งหมดแล้ว ใครๆ ก็สามารถทำได้ เพียงต้องไปเปิดบัญชีการชำระเงินค่าโฆษณากับเฟสบุคเพิ่มอีกหนึ่งอย่าง วิธีการชำระเงินค่าโฆษณาสามารถเลือกได้สองอย่างว่าจะชำระแบบไหนคือ ชำระด้วยบัตรเครดิต และ ชำระด้วยวิธีคูปอง
เมื่อเปิดบัญชีการชำระค่าโฆษณาเสร็จ ก็มาสร้างชุดโปรโมทว่าเราจะโปรโมทอะไร เพจ หรือ โพสต์ ในกรณีโปรโมทเพจไม่ค่อยยุ่งยากอะไรมาก บอกงบประมาณสำหรับโฆษณาว่าจะตั้งงบไว้วันล่ะกี่บาท บอกกลุ่มเป้าหมายมีใครกลุ่มใหน และอาศัยอยู่แห่งหนตำบลใดบนโลกใบนี้ แค่นี้ก็เสร็จแล้ว รอให้เฟสบุคเอาข้อมูลของเราไปประมวลพิจารณาอนุมัติว่าจะให้โฆษณาหรือไม่ ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง (ซึ่งจริงๆ ก็ไมถึง) หากไม่มีอะไรผิดพลาด คาดว่าเฟสบุคจะอนุมัติชุดโฆษณาให้อย่างนี้แน่นอน หากอนุมัตเฟสบุคจะแจ้งให้เราทราบทันที
ส่วนการโปรโมทโพสต์จะมีเงื่อนไขที่ยุ่งยากขึ้นอีกเล็กน้อย โดยเฉพาะรูปภาพที่อยู่ในโพสต์จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของเฟสบุคเท่านั้น แต่ทั้งหมดมีคำแนะนำจากเฟสบุคตลอดในแต่ละขั้นตอน หาากชุดโฆษณาได้รับอนุมัติหรือไม่อนุมัติ เฟสบุคจะแจ้งให้ทราบอีกเช่นกัน
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะกรณีที่ได้รับอนุมัติก่อน หน้าที่ของเจ้าของเพจหรือเจ้าของโพสต์ก็คอยติดตามผลการทำโฆษณากับเครื่องมือที่เฟสบุคจัดเตรียมไว้ให้ หากเห็นว่าได้ผลเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เราสามารถยกเลิกการโฆษณาชุดนั้นได้เลยทันที
เมื่อต้องการทำโฆษณาชุดใหม่กับเพจเดิมก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องไปสร้างบัญชีชำระเงินค่าโฆษณาใหม่อีก
ทั้งหมดคือขั้นการทำโฆษณาบนเฟสบุค อาจจะไม่ละเอียด แต่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าไม่แน่ใจ เชิญมาปรึกษาหรือสอบถามเข้ามาที่ผมได้เลย หมายเลขโทรศัพท์อยู่ที่หน้าเพจ F4SME หรือส่งเป็นข้อความเข้ามาทางเพจนี้ก็ได้เช่นกันครับ ยินดีให้คำปรึกษาทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการโฆษณาบนเฟสบุคครับ

Page Manager



ในช่วงสองสามปีมานี้ ผมเห็นมีผู้คนมากมายต่างทยอยเปิดเพจของตนเองบนเฟซบุคกันเยอะมาก แต่มีเพียงไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่เป็นเพจที่ยังแอคทีฟ(Active)อยู่ มันเกิดอะไรขึ้น?
(เพจที่แอคทีฟ หมายถึงเพจที่มีผู้คนแวะเวียนเข้าไปไลค์ เข้าไปคอมเมนต์ หรือเข้าแชร์ อย่างต่อเนื่อง)
ถ้าย้อนกลับไปดูเรื่อง EdgeRank ก็พอจะพูดได้ว่า เจ้าของเพจที่ไม่ค่อยแอคทีฟทั้งหลาย ยังไม่เข้าใจเรื่อง EdgeRank เสียเป็นส่วนมาก เพจก็เลยไม่คึกคัก ทั้งๆ ที่ ถ้าเพจมีความคึกคักมัน จะยอดเพิ่มยอดกำไรในธุรกิจได้เอาง่ายๆ โดยลงทุนเงินกับลงทุนแรงเพิ่มอีกไม่มากอะไรเลย
ณ ตอนนี้หากท่านใดยังไม่เคลียร์หรือเก็ตเรื่อง EdgeRank อยากให้ลองไล่กลับไปอ่านโพสต์ก่อนหน้านี้ที่ผมเขียนเรื่อง EdgeRank เอาไว้ค่อนข้างจะชัดเจนเป็นอย่างดี เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานสำหรับเรื่องใหม่ที่ผมกำลังจะอธิบายปรากฎกาณ์แปลกๆ ตามที่ผมได้พาดหัวเรื่องไว้
การที่เฟสบุคนำอัลกอรึทึม EdgeRanking มาใช้ก็เพื่อ คัดกรองโพสต์ต่างๆ จากทุกแหล่งที่เรากำลังติดตามอยู่ ให้ปรากฎบน newsfeed ของเราอย่างเหมาะสมกับเราที่สุด นั่นก็คือ เวลา สถานที่ และผู้คน
แต่ทุกท่านทราบไหมครับว่า จริงๆ แล้ว บรรดาโพสต์ที่มาจากเพจต่าง ๆ ที่เราไปทำการซับสไครบ์(Subscribe) เพื่อติดตามเพจเหล่านั้นไว้ หากเราเพียงแค่ไปกดไลค์เพจเอาไว้ เพื่อหวังจะติดตามเพจนั้น มันมีโอกาสที่จะมาขึ้นบนหน้า newsfeed ของเราแค่ 16% หรือน้อยกว่านั้น (เรื่องนี้ได้มีการทำการทดลองและบันทึกผลเอาไว้แล้ว) เท่านั้นเองครับ
16% หมายความว่า ถ้าซับสไครเบอร์(Subscriber) ของเพจ(ต่อไปผมจะเรียกว่าแฟนเพจ)นั้นมีประมาณ 10,000 คน โพสต์ต่าง ๆ ของเพจนั้นจะไปปรากฎบน newsfeed ของแฟนเพจหรือซับสไครเบอร์ เพียงแค่ 1,600 คน(หรือน้อยกว่า) เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 84% หรือ 8,400 คน จะไม่ได้รับข่าวสารจากการโพสต์ของเพจนั้นเลย ยกเว้นเสียแต่ว่า แฟนเพจเหล่านั้นจะเข้ามามีส่วนร่วมโดยการกดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์โพสต์ของเพจบ้าง เพื่อเรียกคะแนนค่าความใกล้ชิดขึ้นมา หลังจากนั้นแฟนเพจที่ได้ทำแบบนั้นก็จะกลายเป็น 16% แรก ที่ได้เห็นโพสต์อย่างสม่ำเสมอ
อีกด้านหนึ่ง สมมติว่าเราไปกดไลค์เพจเพื่อเป็นแฟนเพจไว้สัก 10,000 เพจ แล้วเราก็ไม่เคยกลับที่หน้าเพจเขาเลย เรารอแต่ให้เขาโพสต์ออกมาแล้วให้เฟซบุคดึงโพสต์พวกนั้นมาในหน้า newsfeed ของเรา สุดท้ายเฟสบุคก็จะไปเช็คค่าความใกล้ชิดของเพจที่มีค่าสูง ๆ แล้วดึงมาให้เราได้เห็นแค่ไม่กี่เพจ ส่วนเพจที่เราไม่เคยไปมีปฏิสัมพันธ์(ไลค์ เมนต์ แชร์) ใดๆ กับเขามาก่อน แค่ไปกดไลค์เพจเอาไว้เฉยๆ ก็จะไม่ปรากฎขึ้นมาให้เราเห็น ถ้าเป็นแบบนี้ ขอให้ตั้งข้อสังเกตไว้เลยว่า เพจเหล่านั้นได้กลายเป็นเพจจำพวกไม่แอคทีฟไปแล้ว ซึ่งมีเยอะมากในขณะนี้
ที่เป็นอย่างนั้น ก็ขอให้เข้าใจว่า เฟสบุคจะดึงเฉพาะโพสต์ที่มีคุณภาพจากเพจที่มีคุณภาพ(เพจที่ยังแอคทีฟมาอย่างต่อเนื่อง) ให้เราได้ดูเท่านั้น
มาถึง ณ ปัจจุบันนี้ เพจใหม่ๆ ก็ยังทยอยเปิดกันออกมาเรื่อยๆ ส่วนเพจเก่าที่ไม่แอคทีฟไปแล้ว ก็อยากให้ตัวเองกลับไปเป็นเพจที่แอคทีฟกันมากขึ้น แต่ข้อจำกัดของเฟสบุคที่ว่า หากค่าความใกล้ชิดระหว่างแฟนเพจกับเพจไม่ดี มันก็จะไม่ดึงเรื่องราวจากเพจไปให้แฟนเพจดู หากป็นแบบนี้มีหนทางเดียวล่ะครับ
ก็คือเราไปบอกให้เฟซบุคช่วยดึงโพสต์ใหม่ๆ จากเพจของเราที่สร้างใหม่หรือสร้างมานานแล้วแต่มันไม่แอคทีฟไแล้ว ให้ไปปรากฎกับแฟนเพจของเราทั้ง 10,000 คนด้วย (สมมติว่าเรามีแฟนเพจ 10,000 คน) หากเฟสบุครักเราจริง เขาน่าจะทำให้เราได้ ท่านว่าไหม อิ อิ อิ
ซึ่งจริงๆ แล้ว เฟสบุคก็น่าจะทำให้เราได้ แต่มันไปติดปัญหาว่า คนที่ไปบอกให้เฟสบุคช่วยทำแบบนี้ให้ในเวลานั้นๆ มันมีไม่ใช่เฉพาะแต่ท่านคนเดียวน่ะสิ เพราะทุกคนต่างก็ต้องการให้โพสต์ที่ไปจากเพจของเขาไปปรากฎบน newsfeed ของแฟนเพจเขาทั้งหมดด้วยเหมือนกัน
ทีนี้ล่ะครับ มันกลายเป็นช่องทางที่ทำให้เฟสบุคเกิดรายได้เข้ากระเป๋าขึ้นมา เพราะมีแต่คนมาขอให้ช่วย หากมีแค่คนหรือสองคน มันก็ช่วยแบบฟรีๆ เลยก็ได้ แต่นี่มันมาเป็นหมื่นเป็นแสนราย คงช่วยฟรีๆ ไม่ไหว (ผมเคยเขียนเรื่องของฟรีไม่มีในโลกด้วย ลองไปไล่เรียงหาอ่านดูนะครับ)
เฟสบุคก็เลยแก้ปัญหาเรื่องนี้แบบนี้ครับ ก็คือว่า ถ้าคุณต้องการอย่างนั้นก็จ่ายเงินมาแล้วกัน ใครจ่ายมากทำให้ก่อน ใครจ่ายน้อยทำให้หลัง (เฟสบุคนี่แสบมาก อิ อิ อิ) ทุกท่านก็ลองคิดสิครับ เพจเขามีแฟนเพจเป็นหมื่นๆ เพื่อจ่ายเงินเล็กๆ น้อยๆ ให้เฟสบุคจัดการเรื่องนี้ให้ มีใครบ้างที่จะไม่สน เพราะแฟนเพจเหล่านั้นก็คือลูกค้าหรือว่าที่ลูกค้าของเพจในอนาคต ถ้าเป็นท่าน ท่านจะยอมจ่ายไหมล่ะครับ(ก่อนจะตอบคำถามนี้รบกวนให้อ่านเรื่องของฟรีไม่มีอยู่ในโลกใบนี้เสียก่อนนะครับ)
บรรดา เถ้าแก่ อาเสี่ย อาเฮีย ทั้งหลายเมือดีดลูกคิดแล้ว ต่างก็พูดว่า "อาว-เลย-อั๊ว-ทิ้ง-ไม่-อั้ง" ถามว่าทำไมเขากล้าลงทุน ตอบว่า เพราะธุรกิจของเขามีการแข่งขันกันสูง ต้องแย่งลูกค้า แย่งมาได้แล้วก็ต้องรักษาให้คงอยู่ต่อไป แล้วเมื่อใช้วิธีนี้มันได้ผล คุ้มค่า และรวดเร็ว
ยิ่งทุกวันนี้ได้เกิดธุรกิจใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งธุรกิจ ก็คือธุรกิจรับจ้างทำโฆษณาบนเฟสบุค ผมนั่งเช็คดูก็มีอยู่เยอะเหมือนกัน อีกไม่นานจะมีมากกว่านี้อีก โพสต์ต่อไปผมจะมาบอกว่า ทำโฆษณาบนเฟสบุคเขาทำกันอย่างไร ซึ่งทุกที่ใช้เฟสบุคก็สามารถทำได้ทุกคน โปรดคอยติดตามอ่านกันนะครับ
ขอบคุณทุกท่านมากคับ

กลไกของ EdgeRank



โพสต์ก่อนหน้านี้ มีคำถามที่ชวนสงสัย ทิ้งไว้ตอนท้ายของโพสต์ว่า ทำไมเฟสบุคจึงใช้วิธีเรียงลำดับโพสต์ในหน้า newsfeed ของเราด้วยวิธี EdgeRank ให้ยุ่งยากทำไม?
ก่อนอื่น ขอบอธิบายดังนี้ครับ เฟสบุคจะมีโหมด(Mode) การเรียงลำดับโพสต์ในหน้า newsfeed ของเราอยู่สองโหมดด้วยกัน คือ
1. โหมดเรื่องราวยอดนิยม (Top News) เป็นโหมดที่มีการเรียงลำดีบโพสต์ด้วยค่า EdgeRank และโหมดนี้ถูกกำหนดให้เป็นโหมดดิฟอล์ต(Defualt) เสียด้วย กับอีกโหมดหนึ่งคือ
2. โหมดเรื่องราวล่าสุด (Most Recent) โหมดนี้ไม่ได้จัดเรียงด้วยค่า EdgeRank แต่มันจะจัดเรียงตามเวลาที่มีการอัพเดทล่าสุด โหมดนี้ไม่มีความสลับซับซ้อนใดๆ เรื่องราวล่าสุดอยู่บน จบ อิ อิ อิ
อย่างไรก็ตาม เราสามาถเปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่างสองโหมดนี้ได้ แต่มีน้อยคนนักที่รู้ว่าจะเปลี่ยนได้อย่างไร เมื่อไม่รู้ก็ย่อมต้องอ่านโพสต์ต่างๆ บน newsfeed ด้วยค่าดีฟอล์ต คือโหมดเรื่องราวยอดนิยม คราวนี้แหละครับ เป็นเรื่อง
เรื่องที่ว่าก็คือว่า ถ้าโพสต์ใดมีค่า EdgeRank ต่ำเตี้ยติดดิน โพสต์นั้นก็ซวยเลย (ลองกลับไปอ่านเรื่อง EdgeRank เพื่อปูพื้นอีกสักรอบก็ได้ครับ ที่ https://www.facebook.com/f4sme/posts/1774237849470070) ยกเว้นเพื่อนที่เปิดอ่านโพสต์สลับโหมดในหน้า newsfeed ไปเป็นโหมดเรื่องราวล่าสุดแทน จึงจะเห็นโพสต์ที่มีค่า EdgeRank ต่ำๆ ได้
แต่ถ้าเขา(เพื่อน)สลับโหมดไม่เป็นล่ะ ไม่มีทางอื่นล่ะครับ มีทางเดียว คือถ้าจำได้ ในเรื่อง EdgeRank ข้อหนึ่งข้อเดียวที่มันอยู่นอกการควบคุมของเรา แต่ข้องสองกับข้อสามมันอยู่ในการควบคุมของเราได้ และขอเน้นไปที่ข้อสองเลย คือน้ำหนักโพสต์ของเราต้องมีค่าสูง กล่าวคือต้องเป็นโพสต์ที่มีคุณภาพสักนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงของเราแต่อย่างใด แล้วไปรวมกับคะแนนข้อสาม อาจจะไม่ได้คะแนนเต็มหรือเกือบเต็มแต่น่าจะ 60% ขึ้น แค่รอให้เพื่อนซี้ของเราใครสักคน(หรือหลายคนยิ่งดี)มากระตุ้น(ไลค์ เมนต์ แชร์) ก็จะมีคะแนนจากข้อหนึ่งเข้ามาเพิ่มเอง
การจะทำโพสต์ให้เป็นโพสต์มีคุณภาพนั้น มันต้องมีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์อยู่ด้วย ซึ่งแต่ละคนก็มีไม่เหมือนกัน ส่วนใครที่ไมค่อยจะมีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ ขอแนะนำให้ดูโพสต์ของคนอื่นที่เขาประสบความสำเร็จไปแล้วเป็นตัวอย่าง แล้วตั้งข้อสังเกตุว่าโพสต์เหล่านั้นมันมีลูกเล่นอะไรบ้าง ทำไมยอดไลค์ขึ้นสูง อย่างนี้เป็นต้น
นอกจากนั้น อีกประการหนึ่งเมื่อเราเกิดไอเดียสร้างโพสต์ที่มีคุณภาพได้แล้ว เราต้องโพสต์อย่างสมำเสมอ เช่น วันล่ะโพสต์ก็น่าจะพอ เพราะโพสต์เราเมื่อกลายโพสต์ยอดนิยมไปแล้ว จะตอบกันเหนื่อย(มาก)
ถามว่าทำไมต้องโพสต์อย่างสม่ำเสมอ ก็เพราะในเรื่องของ EdgeRank ในข้อที่หนึ่ง เฟสบุคมันจะไปเอาข้อมูลในอดีตมาประมวลผลหาค่าความใกล้ชิด(ยังจำได้ไหมเอ่ย) นี่แหละที่บอกว่าต้องโพสต์วันล่ะหนึ่งโพสต์(ที่มีคุณภาพ)
หากได้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ต้องสนใจว่าใครจะสลับโหมดได้หรือไม่ได้ เป็นหรือไม่เป็น เพราะเราเชื่อว่าโพสต์เราติดลมบนแล้ว
นี่คือสาเหตุที่มาของ เฟสบุคจัดเรียงโพสต์ด้วยค่า EdgeRank ในโหมดเรื่องราวล่าสุด ก็เพื่อจะให้เครดิตกับโพสต์ที่มีคุณภาพทั้งหลายได้อยู่ด้านบน และอีกประการก็คือ จะเป็นการช่วยกรองโพสต์ด้อยคณภาพทั้งหลายให้ออกไปจากสายตาของเรานั่นเอง ซึ่งมันก็ตอบสนองความรู้สึกเราที่คล้ายๆ กับเวลาที่หยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมาอ่าน เราอยากก็อ่านข่าวด่วนข่าวดังก่อนข่าวอื่นอย่างแน่นอน(ใช่ไหมครับ แฮะ แฮะ) พวกหนังสือพิมพ์ก็เลยเอาข่าวด่วนข่าวดังทั้งหลายมาพาดหัวหน้าหนึ่ง ส่วนข่าวไม่ค่อยดังก็ไปต้องไปไล่หาอ่านในเล่มเอาเอง
ในความเห็นของผม มันก็ยุติธรรมดี แล้วเพื่อนๆ ล่ะครับ คิดว่ามันยุติธรรมไหม?

EdgeRank







เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่า ทำไมเวลาเราโพสต์สิ่งใดๆ ลงไปบนเฟสบุคในหน้าเพจส่วนตัวของเรา บางทีแทบจะไม่มีปฏิกริยาใดๆ จากเพื่อนๆ ของเราเลย เป็นไปได้ไหมว่า เพื่อนๆ ไม่เห็นโพสต์ของเรา ทั้งที่บางทีโพสต์เสร็จแล้วออกมาไปทานข้าว ปรากฎว่ามีเพื่อนคนนั้นเข้ามาไลค์ เพื่อนคนนี้เข้ามาเม้นต์ จนเป็นอันให้ไม่ต้องทานข้าวกันเลย
เชื่อว่าทุกคนที่ได้เปิดใช้งานเฟสบุคมานานหลายๆ ปี คงต้องสงสัยในลักษณะนี้กันแน่ เนื่องจากว่าประมาณก่อนปี 2555 เฟสบุคจะใช้วิธีเรียงลำดับการโพสต์ตามเวลา กล่าวคือโพสต์ล่าสุดจะอยู่บนเสมอทั้งในหน้าส่วนตัวของเราและหน้า newsfeed (หน้าหลัก) แต่หลังจากปี 2555 เป็นต้นมา หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ บางทีโพสต์เมื่อสามปีสี่ปีที่แล้วกลับเด้งมาอยู่บนหน้า newsfeed เอาดื้อๆ แต่โพสต์ล่าสุดหายจ๋อมไปอยู่ไหนก็ไม่รู้ แล้วเฟสบุคใช้หลักการอะไรในการจัดเรียงโพสต์ในหน้า newsfeed ของเราในปัจจุบันี้ล่ะ
ชักเริ่มสงสัยตามที่กล่าวมากันแล้วใช่ไหมครับ?
วันนี้ก็เลยเอาเรื่องสำคัญเรื่องนี้มาอธิบายให้พอเข้าใจกัน ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับโพสต์ของเรา
ในปัจจุบันตอนนี้เฟสบุคจะใช้อัลกอรึทึม (Algorithm) หรือเรียกแบบชาวบ้านก็คือกระบวนการในการประมวลผลในการตัดสินใจเลือกว่าจะดึงโพสต์ไหนมาอยู่บนหรืออยู่ล่างเรียงลำดับอย่างไรในหน้า newsfeed ของเรานั่นเอง ซึ่งอัลกอรึทึมดังกล่าวมีชื่อว่า EdgeRank (อันนี้ขออนุญาติทับศัพท์ เพราะไม่มีคำภาษาไทยสั้นๆ มาเทียบเคียงได้)
แล้ว EdgeRank มันประมวลผลเลือกเรียงลำดับโพสต์อย่างไรล่ะ
ในกลไกการทำงานของ EdgeRank จะเอาค่าคะแนนมาจาก 3 สิ่่ง (จากในรูป) มาประมวลหาผลลัพธ์ว่า โพสต์แต่ละโพสต์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีคะแนนสูง-ต่ำ อย่างไร แล้วเรียงลำดับโพสต์ในหน้า newsfeed ตามค่าผลลัพธ์นั้น
คะแนน 3 ส่วนที่ว่า มีดังนี้ครับ
1. (u) The Affinity Score: ค่าคะแนนความใกล้ชิด
เป็นค่าที่เฟสบุคประเมินจากความสัมพันธ์ของเจ้าของโพสต์กับเจ้าของหน้า newsfeed ที่เปิดใช้งานเฟสบุคในขณะนั้นว่า เคยมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกันแค่ไหน เช่น เคยไลค์ เคยเมนต์ เคยแชร์ โพสต์ของกันและกันมากน้อยและถี่แค่ไหน คือมันวัดความซี้ย่ำปึ๊กกันเลย ซี้กันมากก็จะได้ค่าคะแนนจากส่วนนี้มาก อย่างนี้เป็นต้น วิธีประมินคะแนนส่วนนี้ของเฟสบุค ก็แค่ไปไล่ดูข้อมูลสถิติย้อนหลังกลับไป เท่านั้นเอง
ทีนี้เมื่อทราบดังนี้แล้ว ต่อไปคิดว่า พอเห็นโพสต์ใดๆ ของเพื่อนซี้ของเราขึ้นปั๊บ ทีนี้ต้องทราบแล้วนะครับว่า ต้องทำอย่างไรกับมัน อิ อิ อิ
2. (w) The Weight Score: ค่าคะแนนน้ำหนักของโพสต์
ค่าคะแนนส่วนที่สองมาจากค่าน้ำหนักของโพสต์นั้นๆ โดยเฟสบุคจะพิจารณาให้คะแนนตามหลักเกกณฑ์ เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ครับ
- Photo / Video – รูปภาพหรือวีดีโอ
- Link – ลิงก์ไปเว็บไซต์อื่นๆ
- Plain Text – ข้อความเฉยๆ
เห็นดังนี้แล้ว ก็พอธิบายได้ว่า ถ้าใส่แต่ข้อความเฉยๆ ไว้ในโพสต์ ขอบอกไว้เลยว่า มันจะขึ้นเฉพาะในหน้า newsfeed ของเพื่อนซี้ของเราเท่านั้นแหละ โอกาสจะไปขึ้นหน้าเพื่อนที่ไม่ใช่เพื่อนซี้(คนที่รู้จัก) มีโอกาสขึ้นน้อยมาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อรู้หลักเกณฑ์นี้แล้ว ต่อไปนี้กูจะโพสต์แต่รูปภาพอย่างเดียว ข้อความไม่ต้องใส่ เพื่อจะได้ค่าคะแนนจากส่วนนี้มากๆ ช้าก่อนครับ หากท่านคิดแบบนั้น ขอบอกเลยว่า ท่านคิดผิดครับ
ที่ผิดก็เพราะว่า รูปภาพหรือวิดีโอมีค่าน้ำหนักมากที่สุดก็จริง แต่ถ้าท่านใส่แต่รูปแล้วเป็นรูปที่มีความหมายคลุมเครือ เพื่อนที่เห็นก็คงไม่กล้ากดไลค์หรือคอมเมนต์ให้ ไม่เกินหนึ่งชั่วโมงขอรับรองว่าโพสต์นั้นจะหายไปจากสาระบบหน้า newsfeed แน่นอน ดังนั้นรูปภาพในโพสต์ทุกโพสต์ควรจะมีข้อความสั้นๆ ไม่ต้องยาวมาก มากำกับเพื่อบ่งบอกจุดมุ่งหมายในภาพของเราด้วยเสมอ
เพราะฉะนั้นทุกครั้งก่อนจะโพสต์อะไรลงไป ให้เอา 3 อย่างนี้้ มาพิจารณาประกอบในโพสต์ของเราด้วยทุกครั้งไป
3. (d) Time Decay: ค่าความสดใหม่
ค่าคะแนนส่วนสุดท้าย เฟสบุคใช้หลักเกณฑ์เก่าก่อนปี 2555 คือค่าความล่าสุดนั่นเอง หากโพสต์ใดเป็นโพสต์ล่าสุดก็จะได้คะแนนในส่วนนี้มาก ว๊าวกันซื่อๆ ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนในค่าคะแนนส่วนนี้ครับ
ทั้งหมดนี้คือกลไกของเฟสบุคที่เรียกว่า EdgeRank แล้วทำไมเฟสบุคต้องเอาอัลกอรึทึม EdgeRank มาใช้งานให้ยุ่งยากด้วยล่ะ อิ อิ อิ อันนี้ผมค่อยไปตอบในโพสต์ต่อไปก็แล้วครับ

ท่านคิดว่า ของฟรีมีอยู่ในโลกกลมๆ ใบนี้หรือไม่?





ท่านคิดว่า ของฟรีมีอยู่ในโลกกลมๆ ใบนี้หรือไม่?
ของฟรีก็คือ สิ่งใดก็ตามที่ให้เขาไปแล้ว เราจะไม่เอาคืน ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม
บรรดาสิ่งใดๆ ก็แล้วแต่ ที่พ้นไปจากสิ่งของที่พ่อแม่หยิบยื่นให้มาตั้งแต่เล็กจนถึงทุกวันนี้ ถือว่า ไม่ใช่ของฟรี
...
ของฟรีมีเฉพาะที่พ่อแม่หยิบยื่นให้เราเท่านั้น ที่เหลือไม่ใช่ของฟรี ถามว่าทำไม จึงเป็นอย่างนั้น
ตอบว่า ของฟรี ต้องเกิดมาจากการเสียสละที่ใหญ่หลวงอย่างยิ่ง ในโลกนี้จะมีใครสักกี่คนที่เสียสละให้ผู้อื่นได้ นอกจากพ่อแม่บังเกิดเกล้าของเราแล้วนั้นหายากเต็มทีหรือไม่มีอยู่เลย
เพราะของที่จะหยิบยื่นให้กันล้วนมีต้นทุน หรือมีมูลค่าทั้งสิ้น
ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบทุน มีแข่งขันแบบเสรี ต่างก็ค้นหาแต่กำไรทั้งสิ้น ไม่มีใครยอมขาดทุน ไม่มีใครยอมเสียสละให้แก่กันแบบฟรีๆ ได้
จึงสรุปได้ว่า ในระบบทุนเสรีปัจจุบัน ของฟรีไม่มีในโลกใบนี้จริงๆ ถ้าไม่เชื่อ ลองไปถาม กูเกิ้ลดู
แล้วเฟสบุคที่บอกว่า ฟรี แล้วมันจะอุปภัมม์ค้ำจุนโลกอยู่ได้อย่างไร ถ้าเฟสบุคมีแต่ให้เขาอย่างเดียว เพราะเฟสบุคต้องลงทุนในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การพัฒนาระบบต่างๆ อย่างที่เราได้ใช้งานอยู่ใปัจจับันนี้ ซึ่งก็เป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงมาก
เมื่อเขาลงทุนสูง แต่ให้เราใช้ฟรีๆ ท่านเองก็คงเดาออกว่าจะเป็นเช่นไร
แล้วเฟสบุคจะได้ทุนคืน หรือได้กำไรจากตรงไหนล่ะ
คำตอบก็คือ ค่าโฆษณาให้สินค้าหรือบริการต่างๆ ที่มักจะขึ้นมาในหน้าเพจของเราแล้วบอกว่า เพจแนะนำบ้าง สินค้าแนะนำบ้าง โปรโมทลดแลกแจกแถมสินค้าบางรายการบ้าง
ซึ่งบางคนก็อาจไม่ชอบ เท่าแต่มองข้ามๆ โฆษณาเหล่านั้นไปเฉยๆ แต่บางคนก็ถูกใจ สนใจกับโฆษณาเหล่านั้นเข้าพอดี เลยกลายเป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ผลิตได้พบกับผู้บริโภค เกิดการซื้อขายสินค้าหรือบริการขึ้นมาเป็นวงจรออกไป นี่คือความสำเร็จที่ผู้ผลิตสินค้านำสินค้าของตัวเองมากฝากให้เฟสบุคทำโฆษณาให้ แล้วจ่ายเงินค่าโฆษณาให้เฟสบุค เฟสบุคเลยได้ทุนจากที่ลงไปคืนกลับมา
ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า ของฟรีไม่มีอยู่ในโลกใบนี้จริงๆ
ดังนั้น ทุกท่านที่ใช้งานเฟสบุคฟรีอยู่ ก็น่าจะฉุกคิดได้ว่า หากไม่เป็นการเหนือบ่ากว่าแรง ก็ควรเข้าไปช่วยกดไลค์เพจโฆษณาหรือแชร์โหสต์เหล่านั้นให้เขาบ้าง เพราะแค่กดไลค์หรือแชร์โพสต์เราไม่ได้เสียเงินสักหน่อย เพราะโฆษณาเหล่านั้นคือสปอนเซอร์รายใหญ่ ที่คอยค้ำจุนให้เฟสบุคยืนหยัดรับใช้เราและเพื่อนๆ เรา อยู่ต่อไปได้
หนึ่งไลค์ของเรา หนึ่งแชร์ของเรา จะช่วยให้สังคมออนไลน์แห่งนี้อยู่ต่อไปได้อีกยาวนาน
เราได้ใช้ฟรี แต่ก็ควรหาโอกาสตอบแทนเขาบ้าง จริงไหม?
หากจะว่าไป เรากับเฟสบุค ก็คล้ายๆ กับ น้ำพึ่งเรือเสื่อพึ่งป่า นั่นเอง

ขั้นตอนการทำโฆษณาบนเฟสบุคให้ได้ผล





ขั้นตอนการทำโฆษณาบนเฟสบุคให้ได้ผล
1. สร้างเพจที่ต้องการจะโฆษณา ชื่อเพจที่เป็นเอกลักษณ์ ที่อยู่ ภาพประจำตัว ภาพแบคกราวด์ ที่สำคัญจุดเช็คพอยต์สำหรับเช็คอินบนแผนที่ต้องทำให้ถูกต้อง
2. หาคนมาช่วยเขียนคำวิจารณ์เพจ ในเพจที่เราสร้างขึ้น รวมไปถึงการติดดาวด้วย สี่ดาว หรือห้าดาว ก็ว่ากันไป
...
3. ทำชุดโฆษณาแนะนำเพจ เพื่อหาคนมาถูกใจเพจ การที่เพจใดเพจหนึ่งจะยอดคนถูกใจเพจสูง ๆได้ มันไม่ง่าย ต้องลงทุน ต้องโฆษณา เพราะ ยิ่งมีคนมาถูกใจเพจมากยิ่งบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของเพจนั้น คนที่มาถูกใจเพจก็คือคนที่มาทำการสมัครรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของเพจนั้น เรียกว่าการทำซับสไครบ์ (Subscribe) เปรียบเทียบได้กับบสมัยก่อนก็คือ การรับหนังสือพิมพ์มาอ่านเป็นประจำทุกวันที่บ้านนั่นเอง พวกส่งหนังสือพิมพ์ก็จะเอากล่องหนังสือพิมพ์มาติดไว้ที่ประตูหน้าหน้า แล้วมาส่งหนังสือพิมพ์ลงในกล่องให้เราได้อ่านทุกเช้า ลูกค้าที่ทำซับสไครบ์เราเรียกว่าซับสไครเบอร์ (Subscriber)
4. การทำโพสต์เพื่อป้อนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของเพจเรา ไปให้ผู้ที่มากดถูกใจเพจของเรา ได้รับทราบ ซึ่งต้องทำเป็นประจำ อย่างในกรณีที่เราจะแจ้งให้เขาทราบว่า ในช่วงเวลานี้เพจของเรากำลัจัดแคมเปญสินค้าอะไร อย่างนี้เป็นต้น หากเห็นว่าโพสต์ที่ทำนั้นมีความสำคัญมาก เราสามารถที่จะทำโฆษณาโพสต์ของเราแยกต่างหากได้อีก เพื่อให้ลูกค้ารายใหม่บนเฟสบุคได้เห็นด้วย
5. ที่ร้านหรือที่ประกอบธุระกิจของเรา ต้องจัดให้มีมุมสำหรับลูกค้าที่มาสามารถภ่ายภาพเซลฟี่ได้ อย่างน้อยหนึ่งมุม เมื่อลูกค้านำภาพถ่ายเซลฟี่ไปโพสขึ้นเฟสบุต ขอร้องให้ลูกค้าใส่จุดเช็คอิน(ที่เราสร้างไว้ในข้อ 1.)ลงในโพสต์ของลูกค้าให้เราด้วย เพราะมันจะเป็นการโปรโมทเพจของเราไปในตัวด้วยอีกทางหนึ่ง หากลูกค้าประทับใจตัวธุระกิจของเรา เราควรขอร้องให้ลูกค้าช่วยเขียนคำวิจารณ์(ข้อ 2.) เพิ่มให้เราด้วย จะยิ่งดีใหญ่